เวลาดูข้อมูลเลือกซื้อประกันสุขภาพ เรามักจะเห็นคำว่า ประกันสุขภาพ IPD และ OPD อยู่เสมอ ซึ่งประกันทั้งสองรูปแบบนี้มีเงื่อนไขและรายละเอียดที่แตกต่างกัน เราจึงต้องศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนทำประกัน ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักประกัน IPD และ OPD ว่าคืออะไร และเราควรเลือกซื้อประกันแบบไหนกัน
คำว่า IPD ย่อมาจากคำว่า In-Patient Department หรือผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง เพราะหลังจากที่แพทย์ตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการแล้ว พบว่าคนไข้ต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด ไม่สามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ในทันที
ประกัน IPD จึงเป็นประกันสุขภาพที่มีเงื่ อนไขความคุ้มครองผู้เอาประกันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตามมาตรฐานประกันสุขภาพ ดังต่อไปนี้
● ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาล สำหรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
● ค่าบริการทางการแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยและการรักษา ค่าบริการที่เกี่ยวกับเลือด ค่าบริการทางพยาบาล ค่ายา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการรักษา
● ค่าแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาระหว่างที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
● ค่าผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ได้พักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) เป็นการผ่าตัดใหญ่ หรือการทำหัตถการ ที่ใช้เครื่องมือการรักษาที่ทดแทนการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเข้ารับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
● ค่าผ่าตัดและหัตถการต่าง ๆ
● ลดความเสี่ยงด้านการเงิน เนื่องจากการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบ าลมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์หลากหลายอย่าง ทั้งค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าแพทย์ ไปจนถึงการตรวจวินิจฉัยทางแล็บต่าง ๆ โดยเฉพาะการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่คืนหนึ่งต้องเสียเงินไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ด้วยเหตุนี้ การทำประกัน IPD จึงช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์ ไม่ต้องนำเงินเก็บมาใช้จ่าย โดยวงเงินความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์แต่ละฉบับที่แตกต่างกันออกไป
● สามารถใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีได้ สำหรับผู้มีเงินได้ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี* และถ้าใครทำประกันสุขภาพให้พ่อแม่ ก็สามารถนำค่าเบี้ยประกันภัยมาใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 15,000 บาท*
● ราคาไม่แพง หากว่าเราไม่ค่อยป่วย ดูแลสุขภาพอยู่เสมอ เราสามารถเลือกประกันแบบ Co-pay คือผู้เอาประกันมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ ารักษาในแต่ละครั้ง หรือเลือกจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) เพื่อจ่ายเบี้ยประกันที่ถูกลงกว่าเดิม
หมายเหตุ * เบี้ยฯ ลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขกรมสรรพากรกำหนด
หลายคนอาจมองว่าประกัน IPD เป็นประกันที่ทำทิ้ง ไม่ค่อยได้ใช้ แต่เราอย่าลืมว่าร่างกายของเรามีการเสื่อมตามอายุ ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การมีประกันสุขภาพไว้ในยามที่เจ็บหนักต้องเข้าโรงพยาบาล ก็เป็นหนึ่งในตัวช่วย ที่ให้เราไม่ต้องวิ่งวุ่นหาเงิน สามารถรักษาตัวได้อย่างเต็มที่ ประกัน IPD จึงเหมาะกับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและดูแลตัวเองเป็นประจำ ไม่ค่อยป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ
คำว่า OPD ย่อมาจาก Out-Patient Department หรือผู้ป่วยนอก คือ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล หลังจากเข้ารับการตรวจจากแพทย์แล้ว สามารถรับยาแล้วกลับบ้านได้เลย หรือรอสังเกตอาการน้อยกว่า 6 ชั่วโมง
ประกัน OPD จึงคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเฉพาะค่าตรวจและค่ายาในแผนกผู้ป่วยนอก โดยมีความคุ้มครองครอบคลุมรายการดังต่อไปนี้
● ค่าบริการทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย
● ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ อุบัติเหตุ ภายใน 24 ชั่วโมง
● ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟู หลังจากที่เข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน
● ค่าฟอกไต สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกไตเป็นประจำ
● ค่ารักษาโรคมะเร็ง ด้วยรังสีรักษา รังสีร่วมรักษา เวชศาสตร์นิวเคลียร์รักษา
● ค่าผ่าตัดเล็ก
สำหรับประกัน OPD จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ แบบเหมาจ่าย เป็นแบบไม่มีเพดานค่ารักษาในแต่ละครั้ง สามารถใช้ได้จนครบวงเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ กับแบบรายครั้ง ที่จะกำหนดค่ารักษาต่อครั้ง และจำนวนครั้งต่อปี เช่น ครั้งละ 2,000 บาท สูงสุด 30 ครั้งต่อปี แนะนำให้ผู้ซื้อประกันเลือกตามความเสี่ยงด้านสุขภาพ หากป่วยไม่บ่อย เลือกแบบเหมาจ่ายอาจจะคุ้มค่ากว่า แต่หากว่าป่วยบ่อย แบบรายครั้งอาจจะดีกว่า
● มีโอกาสได้ใช้มากกว่า เรามักจะเจ็บป่วยในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มากกว่าการนอนโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะ
● ลดความเสี่ยงด้านการเงิน การทำประกันสุขภาพจะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายเวลาต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
● ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท* และสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพพ่อแม่ลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 15,000 บาท* เช่นเดียวกันประกัน IPD
● ค่าเบี้ยฯ ราคาสบายกระเป๋า สามารถเลือกแพ็กเกจความคุ้มครองได้ตามความต้องการ
หมายเหตุ * เบี้ยฯ ลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขกรมสรรพากรกำหนด
ประกัน OPD จะเหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อย มากกว่า 2-3 ครั้งต่อปี และต้องการที่จะใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่รวดเร็วกว่าโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้
ใครที่กำลังไม่แน่ใจว่าจะเลือกประกัน IPD หรือ OPD หรือเลือกประกันที่คุ้มครองทั้งสองกรณีดี เราสรุปความคุ้มครองและเปรียบเทียบมาให้แล้วในตารางด้านล่างนี
ส่องความคุ้มครองประกันสุขภาพแบบไหนเหมาะกับเรา
จากตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองจะเห็นได้ว่าประกัน IPD และ OPD มีความคุ้มครองที่แตกต่างกัน แต่ในปัจจุบันทางบริษัทประกันได้มีการออกแพ็กเกจรวมความคุ้มครองทั้งในฐานะผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเข้าไว้ด้วยกัน แม้ค่าเบี้ยประกันภัยจะมีราคาเพิ่มขึ้นมา แต่ก็คุ้มครองครบทุกด้าน ไม่ว่าจะป่วยน้อยหรือป่วยมากก็ตาม
เลือกหลักประกันเรื่องสุขภาพ เพิ่มทางเลือกในการรักษา เลือกซื้อประกันสุขภาพจาก Prudential ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงแค่ตอบคำถามสุขภาพไม่กี่ข้อ มีแผนประกันให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด เช็กเบี้ยประกันออนไลน์ได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง
1. New Health Standard ประกันสุขภาพแบบใหม่ เราได้หรือเสียประโยชน์ ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 จาก https://www.moneybuffalo.in.th/insurance/new-health-standard
2. มาตรฐานการประกันสุขภาพแบบใหม่ (NHS) ส่งผลต่อประกันสุขภาพของลูกค้าอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 จาก https://www.wangpaan.com/content/10142/newhealth-standard