หลายคนอาจจะสงสัยว่าเงินเดือนเท่ากัน แต่ทำไมเสียภาษีเงินเดือนไม่เท่ากัน นั่นเป็นเพราะว่ารายได้ที่นำมาคำนวณภาษีไม่ใช่ตัวเลขของเงินเดือนหรือเงินได้ทั้งปี แต่เป็นเงินได้สุทธิที่หักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้วนำมาคำนวณจำนวนเงินที่ต้องจ่ายภาษี
หากว่าใครกำลังสงสัยว่ามีรายได้หรือเงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี และมีอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง ในบทความนี้จะมาอธิบายให้ทุกคนเห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
หลายคนชอบถามว่า เงินเดือน 50,000 บาท 100,000 บาท ต้องเสียภาษีเท่าไร แล้วภาษีโบนัสคิดอย่างไร ก่อนที่จะให้คำตอบที่ถูกต้องได้ ทุกคนจะต้องเข้าใจเรื่องเงินได้สุทธิที่ใช้ในการคำนวณภาษีเสียก่อน
เงินได้สุทธิ คือ เงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร ซึ่งอัตราการเสียภาษีของผู้มีเงินได้จะคำนวณจากเงินได้สุทธิ ไม่ได้คำนวณจากเงินได้ทั้งหมดที่ได้มาทั้งปี ทั้งเงินเดือนและโบนัส และเงินได้อื่น ๆ โดยแต่ละคนจะมีค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่แตกต่างกันออกไป ทำให้คนที่มีเงินเดือนเท่ากัน ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเท่ากันเสมอไป
เงินได้สุทธิ = เงินได้ของทั้งปี - (หักค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน)
ตัวอย่างเช่น
นางสาวเอ ได้รับเงินเดือนเดือนละ 50,000 บาท รวมทั้งปีมีเงินได้ทั้งหมด 600,000 บาท หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท และมีสิทธิลดหย่อนภาษี 200,000 บาท
เงินได้สุทธิของนางสาวเอ = 600,000 - (100,000 + 200,000) = 300,000 บาท
นายบี ได้รับเงินเดือนเดือนละ 50,000 บาท เงินได้ทั้งปีจึงเท่ากับ 600,000 บาท หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนภาษี 50,000 บาท
เงินได้สุทธิของนายบี = 600,000 - (100,000 + 50,000) = 450,000 บาท
เงินได้ ในทางภาษี กรมสรรพากรได้แบ่งเงินได้ออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท ดังนี้
1. เงินเดือน และโบนัส
2. ค่าจ้างทำงาน เช่น เงินที่ได้จากการทำงานฟรีแลนซ์
3. ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
4. ดอกเบี้ย เงินปันผล
5. ค่าเช่าทรัพย์สิน
6. วิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ และอาชีพอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา
7. รับเหมาก่อสร้าง
8. เงินได้อื่น ๆ
หากว่า เป็นพนักงานบริษัท ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจทั่วไป ภาษีเงินเดือนและภาษีโบนัสจะถูกคิดรวมเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 ทั้งหมด แล้วค่อยนำมาคำนวณภาษีเงินได้
ค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการหาเงินได้ ไม่ว่าจะรับค่าจ้างเป็นเงินเดือน โบนัส หรือค่าจ้างทั่วไป โดยค่าใช้จ่ายจะคำนวณได้ 2 วิธี ดังนี้
1. แบบเหมา ไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่าย หัก 50% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินเดือน โบนัส และค่าจ้างจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง จะต้องมีหลักฐานการใช้จ่ายจริงให้แก่กรมสรรพากรตอนยื่นแบบภาษี
อย่างไรก็ตาม หากเป็นเงินได้จากเงินเดือนหรือโบนัสจะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้ กำหนดให้หักแบบเหมาเท่านั้น
ส่วนค่าลดหย่อนภาษี คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ทำให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีน้อยลง หรือได้รับเงินคืนภาษีมากขึ้น มีหลากหลายหมวดด้วยกัน ทั้งหมวดส่วนตัวและครอบครัว การออมและการลงทุน ประกัน การบริจาค และการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
เมื่อคำนวณเงินได้สุทธิได้แล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า เงินเดือนเท่านี้จะต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไร ? ซึ่งการคำนวณอัตราภาษีในปัจจุบันจะคิดเป็น 2 ลักษณะ คือ การคิดแบบขั้นบันไดสำหรับเงินเดือนและโบนัส และคิดแบบเหมาสำหรับเงินได้อื่น ๆ
สามารถคำนวณภาษีตามอัตราภาษีแบบขั้นบันไดได้ดังนี้
เงินได ้สุทธิ | อัตราภาษี | ภาษีสะสมสูงสุด |
---|---|---|
ไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี 0 | ได้รับการยกเว้นภาษี | 0 |
150,001 – 300,000 บาท 5% 7,500 บาท | 5% | 7,500 |
300,001 – 500,000 บาท 10% 27,500 บาท | 10% | 27,500 |
500,001 – 750,000 บาท 15% 65,000 บาท | 15% | 65,000 |
750,001 – 1,000,000 บาท 20% 115,000 บาท | 20% | 115,000 |
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% 365,000 บาท | 25% | 365,000 |
2,000,001 – 5,000,000 บาท 30% 1,265,000 บาท | 30% | 1,265,000 |
มากกว่า 5,000,000 บาท 35% คำนวณตามเงินได้สุทธิจริง | 35% | คำนวณตามเงินได้สุทธิจริง |
ในกรณีที่มีเงินได้อื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน เช่น จากการขายของออนไลน์ จากค่าจ้างต่าง ๆ มากกว่า 120,000 บาทขึ้นไป ให้นำเงินได้ที่นอกเหนือจากเงินเดือนมาคำนวณภาษี ในอัตรา 0.5% ต่อปี
ตัวอย่างเช่น ขายของออนไลน์ได้เดือนละ 100,000 บาท 1 ปีมีเงินได้เท่ากับ 1,200,000 บาท จะต้องเสียภาษี 0.5% เท่ากับ 1,200,000 x 0.5% = 6,000 บาท
เรื่องสุดท้ายที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับการคำนวณภาษีคือ มีอะไรที่ลดหย่อนภาษีได้บ้าง ซึ่งเราได้ลิสต์รายการตัวช่วยลดหย่อนภาษีของมนุษย์เงินเดือนมาไว้ให้แล้ว
● ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
● ค่าลดหย่อนคู่สมรสไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
● บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท
● อุปการะบิดามารดาของตนเองและคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
● เลี้ยงดูคนพิการ หรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
● ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร คราวละไม่เกิน 60,000 บาท
● เบี้ยประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์ เงินฝากพ่วงประกันชีวิต ที่มีกรมธรรม์คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
● เบี้ยประกันสุขภาพ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
● เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาของตนเองและคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
● กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน
● กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน
● เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
● กองทุนการออมแห่งชาติ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนบำนาญอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วยเช่นกัน
● กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท
● ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือเช่าอาคารที่อยู่อาศัย ลดหย่อนตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
● ประกันสังคม ตามที่จ่ายจริง
● กองทุนไทยเพื่อควา มยั่งยืน (Thai ESG) ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 100,000 บาท
● ลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท\
● ค่าลดหย่อน Easy E-Receipt ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
● เที่ยวเมืองรอง ช่วง Low Season (พฤษภาคม - พฤศจิกายน 2567) ตามจริง ไม่เกิน 15,000 บาท
● สนับสนุนการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน
● บริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน
● เงินบริจาคทั่วไป เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน
● เงินบริจาคให้พรรคการเมือง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท
รู้วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้แล้ว แนะนำให้ทำประกันสะสมทรัพย์ เพื่อลดหย่อนภาษี PRUSavings Plus 10/4 จ่ายเบี้ยสบาย เริ่มต้นเพียง 10,000 บาท รับเงินคืนทุกปีปีละ 5% ครบ 10 ปี รับเงินก้อน 410% สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ซื้อผ่านออนไลน์ได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง
1. ค่าใช้จ่าย
3. เงินได้สุทธิ
4. ค่าลดหย่อน (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
6. เรื่องต้องรู้ก่อนเสียภาษีเงินได้
7. มาตรการลดหย่อนภาษีปี 2567 เมืองรอง 55 จังหวัด เช็กค่าใช้จ่ายเข้าร่วมมาตรการ