ประกันสะสมทรัพย์ เป็นหนึ่งในประกันที่มีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก เนื่องจากเป็นประกันที่ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของเงินคืนและปันผล และยังให้ความคุ้มครองชีวิตอีกด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับประกันสะสมทรัพย์ แบบเจาะลึก ตั้งแต่คืออะไร มีความคุ้มครองอย่างไร แตกต่างจากการฝากเงินมากน้อยแค่ไหน และควรเลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะกับตนเอง
ประกันสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองชีวิตไปพร้อมกับการเก็บออม ซึ่งผู้เอาประกันจะได้เบี้ยประกันคืนพร้อมผลตอบแทน และบางแผนประกันก็อาจจะมีเงินปันผลรายปีอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของคนที่ทำประกั นสะสมทรัพย์ จึงไม่ใช่แค่การออมเงิน หรือการทำประกันชีวิตเพื่อคนที่อยู่ข้างหลัง แต่เป็นรวมความต้องการของสองอย่างเข้าด้วยกัน กล่าวคือ เราได้ออมเงินและได้ผลตอบแทนจากการออมที่มั่นคง ความเสี่ยงต่ำ ที่สำคัญคือ ช่วยสร้างวินัยทางการเงิน โดยการออมอย่างสม่ำเสมอทุกปี และยังสามารถเลือกแผนประกันตามเป้าหมายทางการเงินของเราได้อีกด้วย
ผู้ที่ทำประกันสะสมทรัพย์ มักจะมีเป้าหมายอยู่ 2 ประการ นั่นก็คือ การมองหาความคุ้มครองประกันชีวิตเพื่อคนที่อยู่ข้างหลังจะได้ไม่ลำบาก กับผลประโยชน์จากการออมเงิน ช่วยให้ไม่รู้สึกว่าจ่ายเบี้ยทิ้ง เหมือนกับประกันชีวิต แถมเงินยังงอกเงยขึ้นมาจากเบี้ยประกัน ภัยที่ส่งไปอีกด้วย
ผลประโยชน์ของประกันสะสมทรัพย์ จึงแบ่งได้หลัก ๆ 2 ส่วน ดังนี้
1. ความคุ้มครองชีวิต เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หากเกิดเหตุดังกล่าวในช่วงระยะเวลาคุ้มครอง เราจะได้รับเงินก้อนตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์
2. ผลประโยชน์จากเงินออม โดยประกันสะสมทรัพย์จะจ่ายผลประโยชน์เป็น 2 รูปแบบ คือ
● เงินคืน โดยจะแบ่งเป็นเงินคืนที่เป็นเงินก้อนเมื่อครบสัญญา กับเงินคืนระหว่างสัญญา อาจจะเป็นรายปี หรือราย 3 ปี ตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งมักจะเป็นผลตอบแทนที่แน่นอน โดยระบุเป็นจำนวนเงินที่ต้องได้รับในแต่ละช่วงของสัญญา
● เงินปันผล ขึ้นอยู่กับการระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งหากมีเงินปันผลให้รายปี จะไม่การันตีผลตอบแทนเป็นตัวเลขที่แน่นอน ผู้เอาประกันภัยสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าแต่ละปีได้รับเงินปันผลหรือไม่ และได้รับ เท่าไร ได้จากเว็บไซต์ของบริษัทประกันชีวิต
นอกจากผลประโยชน์ทั้งสองข้อแล้ว ประกันสะสมทรัพย์ ที่มีระยะเวลาคุ้มครองเกิน 10 ปี ยังมีผลประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามที่จ่ายจริง
หลายคนอาจสงสัยว่า เราจะเอาเงินไปฝากธนาคารดี หรือควรนำไปทำประกันสะสมทรัพย์ ดี แล้วทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาดูตารางเปรียบเทียบกันเลย
ปัจจุบันประกันสะสมทรัพย์ มีให้เลือกหลากหลายแผน ให้เราสามารถปรับได้ตามเป้าหมายทางการเงินของเรา โดยมีหลักในการเลือกประกันสะสมทรัพย์ ที่ใช่ ดังต่อไปนี้
สิ่งแรกที่เราควรจะทำ ไม่ใช่การเลือกประกันสะสมทรัพย์ แต่เป็นการกำหนดเป้าหมายทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเลือกการลงทุนและปิดความเสี่ยงด้านการเงินอย่างเหมาะสม
ตัวอย่างเช่น หากว่าเราต้องการออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณ การเลือกประกันสะสมทรัพย์ ที่มีระยะเวลาการออมระยะยาว จะตอบโจทย์มากกว่า โดยแนะนำให้เลือกซื้อประกันสะสมทรัพย์ ที่มีการส่งเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่อง 5-10 ปีขึ้นไป
แต่หากว่าเราต้องการเก็บเงินก้อน เพื่อซื้อรถหรือดาวน์บ้าน เราอาจจะเลือกประกันสะสม ทรัพย์ระยะสั้น 5 ปี หรือ 10 ปี เพื่อที่จะได้เงินคืนกลับมาใช้จ่ายตามเป้าหมายของเรา
อย่ างไรก็ตาม เราควรจะรู้ว่าการออมสั้นหรือออมยาว ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความคุ้มค่าและผลประโยชน์ที่ได้รับ แต่ให้พิจารณาจากเป้าหมายทางการเงินของเราเป็นหลักจะดีกว่า
เรามักจะเห็นตัวเลขที่ต่อท้ายชื่อของประกันสะสมทรัพย์ อย่างเช่น 5/10, 20/20 ตัวเลขด้านหน้า คือ ระยะเวลาที่จ่ายเบี้ยประกัน (ปี) ตัวเลขด้านหลังคือ ระยะเวลาคุ้มครอง (ปี)
ตัวอย่างเช่น พรูคลิก เซฟวิ่ง 8/20 เป็นประกันสะสมทรัพย์ ที่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย 8 ปี ได้รับความคุ้มครองชีวิต 20 ปี และจะได้รับเงินคืนก้อนใหญ่ก้อนสุดท้ายเมื่อครบกำหนด สัญญา
นั่นแปลว่า เ บี้ยประกันภัยที่เราจ่ายเพื่อสะสมไปจำนวน 8 ปี จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์และได้รับผลตอบแทนเงินก้อนเมื่อครบสัญญา แต่เราจะได้เป็นเ งินคืนระหว่างสัญญาแทน ดังนั้น สิ่งที่เราต้องพิจารณาก็คือ
● ระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกัน ภัย เรามีความพร้อมในการจ่ายเบี้ยประกัน ภัยแค่ไหน ระยะสั้นหรือระยะยาว ซึ่งจะส่งผลต่อเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระในแต่ละปี ผู้ทำประกันจึงต้องพิจารณาความสามารถในการชำระเบี้ยประกันประกอบกันด้วย
● ระยะเวลาในการรับความคุ้มครอง สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของเราหรือไม่
นอกจากจะดูเรื่องผล ตอบแทนจากกรมธรรม์แล้ว ควรพิจารณาในเรื่องของการจ่ายผลประโยชน์การคุ้มครองชีวิต ว่าจำนวนเงินที่คุ้มครองชีวิตมีความคุ้มค่าและครอบคลุมหรือไม่ ตรงตามความต้องการของเราหรือเปล่า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วความคุ้มครองชีวิตจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกัน ภัย
ตัวอย่างเช่น พรูเกษียณสุข 225 หากว่าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนอายุ 50 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 100% ให้แก่ผู้ได้รับผลประโยชน์ แต่หากว่าเสียชีวิตตอนอายุ 54 ปี จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนสูงถึง 170%
นอกจากระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกัน ภัยแล้ว จำนวนเงินที่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน ภัยในแต่ละปีก็เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา
ตามหลักแล้ว เราควรแบ่งเงิน ออมมาทำประกันชีวิต ประมาณ 10-20% ของรายได้ทั้งปี แต่ให้เราพิจารณาถึงรายจ่ายอื่น ๆ ด้วย แนะนำให้ลองลิสต์รายการค่าใช้จ่ายที่จำเป็น การออมและการลงทุนด้านอื่น ๆ การสำรองเงินฉุกเฉิน แล้วลองดูว่า สุดท้ายแล้ว เรามีเงินสำหรับการจ่ายเบี้ยประกัน ภัยเท่าไรถึงจะเหมาะสม สะดวกจ่ายเป็นรายปี ราย 3 เดือน หรือรายเดือน มากกว่ากัน
ข้อสุดท้ายในการทำประกันสะสมทรัพย์ คือ พิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับ ลองคำนวณผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์ ว่าตรงตามโจทย์ที่เราต้องการหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินการจ่ายผลประโยชน์ และระยะเวลา
อย่างไรก็ตาม เราต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ประกันสะสมทรัพย์ ไม่ใช่การลงทุนแบบ 100% ที่ให้ผลตอบแทนที่สูง เหมือนกับการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนต่าง ๆ แต่เป็นการออมเงินที่ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน มีความเสี่ยงต่ำ และได้รับผลประโยชน์ในเรื่องของการคุ้มครองชีวิต และลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ซึ่งเราต้องพิจารณาผลตอบแทนต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกันด้วย
ประกันสะสมทรัพย์ คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตและช่วยสร้างวินัยทางการเงิน และได้รับผลตอบแทนจากการทำประกัน ชีวิต รวมถึงได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย แต่จะเลือกประกันสะสมทรัพย์ แบบไหน ระยะเวลาเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินของเรา
สำหรับผู้ที่สนใจทำประกันสะสมทรัพย์ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว สามารถเลือกซื้อประกันสะสมทรัพย์ ของพรูเด็นเชียล ประกันชีวิตได้ มีให้เลือกหลากหลายแผนตามต้องการ ทั้งประกันระยะสั้น ระยะยาว รวมถึงประกันที่เหมาะกับคนวางแผนเกษียณ อ่านรายละเอียดของประกันแต่ละแผนได้ที่เว็บไซต์ของเราเลย หรือโทรสอบถามได้ที่ 1621
ข้อมูลอ้างอิง
1. DCA กับ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/52-saving-with-endowment-life-insurance-and-dca-strategy
2. อยากทำประกัน แบ่งเงินมาทำเท่าไรดี https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/44-how-much-should-be-set-aside-for-insurancepurchase