Date  
22nd January 2025

การทำประกันสุขภาพ แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ แต่ก็สามารถช่วยดูแลสุขภาพด้านการเงิน เนื่องจากช่วยลดความกังวลใจในเรื่องค่าใช้จ่ายขณะรักษาตัว ซึ่งการทำประกันสุขภาพที่ดีที่สุดคือตอนที่เรายังมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เพราะมีโรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองหากว่าเราเป็นมาก่อน รวมถึงอาจมีเงื่อนไขต่าง ๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวกับโรค ทำให้เราไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ผู้วางแผนซื้อประกันสุขภาพจึงจำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นเอาไว้ เพื่อเลือกแผนประกันสุขภาพที่ให้เหมาะสมกับตนเองที่สุด

 

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง คืออะไร ?

 

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง หมายถึง กลุ่มโรคหรือเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนในกรมธรรม์ว่าจะไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน หากว่าผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคนั้น ๆ ทำให้ผู้เอาประกันภัยจำเป็นต้องศึกษาเงื่อนไขและอ่านสัญญาอย่างรอบคอบก่อนการเลือกแผนประกันสุขภาพ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด ทำให้สูญเสียโอกาสในการคุ้มครองสุขภาพไป

 

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง ?

 

สำหรับโรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง สามารถแบ่งได้หลายกรณีและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

 

โรคที่เป็นมาก่อนทำประกันสุขภาพ (Pre-existing Conditions)

 

โรคที่เป็นมาก่อนที่จะทำประกันสุขภาพ ซึ่งยังรักษาไม่หายดี เช่น หากว่าเราเป็นโรคปอดอักเสบก่อนการทำประกันสุขภาพ แต่ยังรักษาไม่หายดี ก็ไม่สามารถเคลมหลังทำประกันภัยได้

นอกจากนี้ โรคที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว บริษัทประกันภัยอาจไม่รับทำประกันสุขภาพหรือไม่ให้ความคุ้มครองเช่นกัน ตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท ตับแข็ง ไตวาย

 

โรคเรื้อรังที่ไม่ได้แจ้งให้บริษัททราบ

 

หากผู้เอาประกันภัยเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่อง อย่างโรคมะเร็ง หรือไตวายเรื้อรัง แล้วจงใจปกปิดข้อมูล บริษัทประกันภัยอาจจะปฏิเสธความคุ้มครอง

 

โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง

 

สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพหรือใช้สารเสพติด อย่างการดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ บริษัทประกันภัยอาจปฏิเสธการทำประกันสุขภาพ หรือให้จ่ายเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs)

  

ไม่ว่าจะเป็นโรค HIV/AIDS หรือซิฟิลิส จะไม่อยู่ในความคุ้มครองของประกันสุขภาพทั่วไป ไม่สามารถขอเคลมได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

 

โรคทางพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

  

หากมีโรคทางพันธุกรรมที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ว่าจะเป็นธาลัสซีเมีย หรือหัวใจพิการ ทางบริษัทประกันภัยจะไม่รับคุ้มครอง เนื่องจากไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของโรคและอาการแทรกซ้อนได้อย่างแน่ชัด

 

โรคที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลารอคอย

 

ในการทำประกันสุขภาพจะมีระยะเวลารอคอย หรือ Waiting Period ซึ่งหากเจ็บป่วยในช่วงนี้ บริษัทประกันภัยจะไม่จ่ายค่าสินไหม

 

โดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลารอคอย 2 ระยะ คือ 30 วัน และ 120 วัน

 

● ระยะเวลารอคอย 30 วัน จะเป็นการเจ็บป่วยทุกโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคทั่วไปหรือโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นหลังจากการทำประกันไม่เกิน 30 วัน

● ระยะเวลารอคอย 120 วัน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคร้ายแรงที่เป็นมาก่อนทำประกันสุขภาพ อย่าง มะเร็ง เนื้องอก นิ่ว ไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร เส้นเลือดขอด เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

 

โรคทางจิตเวช

 

กรมธรรม์ของประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะไม่ครอบคลุมโรคทางจิตเวช อย่างภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล แต่มีบางกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครอง หรือซื้อเพิ่มเติมได้

 

เงื่อนไขอื่น ๆ ที่ประกันสุขภาพไม่รับเคลม

  

นอกจากโรคที่กล่าวมาแล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ ที่ทางบริษัทประกันภัยไม่รับเคลมหรือไม่รับทำประกันสุขภาพดังต่อไปนี้

 

● การตรวจรักษาหรือผ่าตัดเพื่อความสวยงาม

● การตั้งครรภ์ การแท้งบุตร การทำแท้ง การคลอดบุตร

● การใช้ยาเพื่อชะลอวัย หรือฮอร์โมนทดแทนในวัยใกล้หมดระดู หรือรักษาการเสื่อมสมรรถนะทางเพศ

● การรักษาเกี่ยวกับค่าสายตา ทำเลสิค

● การทำทันตกรรม ยกเว้นกรณีบาดเจ็บเนื่องมาจากอุบัติเหตุ

● การบำบัดการติดยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ สุรา หรือยาเสพติดร้ายแรงอื่น ๆ

● การตรวจรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างทดลอง

● ปลูกฝีหรือฉีดวัคซีน

● การรักษาโดยแพทย์ทางเลือก

● การฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง

● การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้เอาประกันก่ออาชญากรรม

● การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เกิดจากสงครามหรือก่อการร้าย

  

หมายเหตุ รายการความคุ้มครองอาจจะแตกต่างกันตามแผนประกันสุขภาพ เช่น บางแผนอาจสามารถเคลมการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ได้

   

   

สาเหตุที่ประกันสุขภาพไม่จ่ายความคุ้มครองของโรคบางชนิด

  

การทำประกันสุขภาพในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น สามารถทำออนไลน์และไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อน แต่ต้องมีการแถลงข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งหากว่าผู้เอาประกันไม่แจ้งข้อมูลสุขภาพที่แท้จริง หรือจงใจปกปิด ทางบริษัทประกันมีสิทธิ์ปฏิเสธการจ่ายสินไหมได้

 

อย่างไรก็ตาม บางกรมธรรม์อาจจะให้ความคุ้มครองโรคที่ผู้เอาประกันภัยมีความเสี่ยงสูง แต่ก็มาพร้อมกับการจ่ายเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น ตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

 

การเตรียมตัวของการทำประกันสุขภาพ

 

สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนจะทำประกันสุขภาพ แนะนำให้เตรียมตัวและหาข้อมูลให้พร้อม เพื่อเลือกแผนประกันสุขภาพให้ตรงกับความต้องการ ดังต่อไปนี้

 

● แถลงข้อมูลสุขภาพอย่างตรงไปตรงมา เพื่อความโปร่งใส โดยกรอกข้อมูลตรงตามความเป็นจริง เพราะหากว่ามีการบิดเบือน ก็จะเป็นสาเหตุที่ประกันสุขภาพไม่จ่ายค่าสินไหมได้

● เลือกแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับความเสี่ยง โดยเลือกแผนที่ครอบคลุมโรคและความเสี่ยงที่กังวลใจ

● อ่านเงื่อนไขของกรมธรรม์อย่างละเอียด อย่าอ่านเพียงแค่คุ้มครองอะไร วงเงินเท่าไรเท่านั้น แต่ต้องอ่านในส่วนของข้อยกเว้น ระยะเวลารอคอย และโรคที่ไม่คุ้มครองประกอบการพิจารณาด้วย

 

เลือกทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมและยืดหยุ่น พรูเฮลท์แคร์พลัส

 

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความคุ้มครอง และครอบคลุมโรคร้ายแรง เบี้ยประกันภัยราคาไม่แพง ขอแนะนำ พรูเฮลท์แคร์ พลัส ที่ครอบคลุมทั้งชีวิต และค่ารักษาพยาบาล ทั้งกรณีเข้ารักษาผู้ป่วยใน และโรคมะเร็ง

 

● เคลมได้ทุกรายการตามจริง สูงสุด 500,000 บาท

● เบี้ยเริ่มต้น 14 บาท/วัน (*กรณีเพศชาย อายุ 30 ปี แผนความคุ้มครอง 1 เลือก Deductible 60,000 บาท)

● เลือกออกแบบความคุ้มครองได้

● เลือกเพิ่มความคุ้มครองโรคร้ายแรง และค่าชดเชยรายได้ได้ตามต้องการ

 

อย่างที่บอกไปว่า ช่วงเวลาที่ทำประกันสุขภาพที่ดีที่สุด คือ ช่วงที่ยังมีสุขภาพดีและไม่เจ็บป่วย เพื่อให้ได้ความคุ้มครองสูงสุด ซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ PRUe-Healthcare Plus จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงแถลงข้อมูลสุขภาพตามจริง ปรับเปลี่ยนแผนได้ตามความเสี่ยง สมัครเลย

  

ข้อมูลอ้างอิง

1. การพิจารณารับประกันภัยกับกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล แบบมาตรฐาน (New Health Standard)