ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ทำให้ชีวิตประจำวันของผู้คนต่างมีความเร่งรีบและความเครียด จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การทานอาหารไม่เป็นเวลา การนอนดึก ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม จนอาจที่นำไปสู่ปัญหาของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ในที่สุด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือโรค “กรดไหลย้อน”
กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) เป็นภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร อันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหูรูดที่เชื่อมระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ โดยจะทำให้เกิดความแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลำคอ รวมถึงอาจมีอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาเหตุหลักของกรดไหลย้อน ได้แก่
● การบริโภคอาหารที่กระตุ้นการผลิตกรด เช่น อาหารไขมันสูง อาหารทอด อาหารรสเผ็ด
● การทานอาหารปริมาณมากในมื้อเดียว
● พฤติกรรมการนอนทันทีหลังทานอาหาร
● น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
● ความเครียด
ภาวะกรดไหลย้อนสามารถแสดงอาการได้หลากหลาย ซึ่งบางครั้งอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น จึงควรสังเกตและระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ต้องได้ รับการดูแล
1. อาการแสบร้อนกลางอกและลำคอ ซึ่งมักเกิดหลังทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารรสจัด หรืออาหารที่มีมันมาก โดยเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาระคายเคืองหลอดอาหาร
2. เจ็บคอเรื้อรัง ทำให้ระคายเคืองในลำคอเป็นเวลานาน เนื่องจากกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงลำคอ บางครั้งอาจทำให้มีอาการบวมแดง หรือเจ็บเวลาพูด
3. ไอแห้ง หรือไอเรื้อรัง โดยไม่มีเสมหะและสาเหตุที่ชัดเจน เกิดจากกรดที่ระคายเคืองหลอดลมและคอ
4. มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง รู้สึกอึดอัดบริเวณลิ้นปี่ หรือท้องส่วนบน โดยอาการนี้มักเกิดหลังทานอาหารมื้อใหญ่
5. กลืนลำบาก เกิดความรู้สึกเจ็บ หรือติดขัดขณะกลืนอาหาร โดยอาจเกิดจากการระคายเคืองของหลอดอาหารที่มีการอักเสบ
6. รู้สึกเหมือนมีของติดในลำคอ เช่น เศษอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเป็นผลมาจากกรดที่ระคายเคืองกล้ ามเนื้อหลอดอาหาร
7. เสียงแหบ โดยเฉพาะในตอนเช้า เกิดจากกรดที่กระทบกับเส้นเสียง
8. มีเสมหะเยอะ เกิดจากการระคายเคืองหลอดอาหารและลำคอ ซึ่งมักเป็นเสมหะใสและไม่มีการติดเชื้อร่วม
9. อาการคล้ายหวัด เช่น คัดจมูก หรือจามบ่อย ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของกรดในทางเดินหายใจส่วนบน
10. ท้องอืด รู้สึกแน่น หรืออึดอัดบริเวณท้องส่วนบน โดยมักเกิดจากการที่กรดกระตุ้นการสะสมแก๊สในกระเพาะอาหาร
11. คลื่นไส้ รู้สึกอยากอาเจียน อาจเกิดร่วมกับอาการท้องอืด หรือปวดท้อง
12. รสขมในปาก เนื่องจากกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงลำคอและปาก บางครั้งอาจรู้สึกขมขณะกลืนน้ำลาย
13. ปวดท้องบน บริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการแน่นท้อง ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองของกรดในกระเพาะอาหาร
14. ลมหายใจมีกลิ่น เกิดจากกรดและเศษอาหารที่ค้างอยู่ในหลอดอาหาร แม้จะทำความสะ อาดช่องปากแล้ว แต่อาการยังคงอยู่
15. อาการใจสั่นในบางครั้ง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นผลมาจากระบบประสาทที่ถูกกระตุ้นโดยกรด มักเกิดในช่วงที่กรดไหลย้อนรุนแรง
เมื่อกรดไหลย้อนมีอาการหนัก หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลตนเองร่วมกับการรักษาที่เหมาะสม ดังนี้
อาหารบางชนิดมีส่วนกระตุ้นให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดกรดไหลย้อน การหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้สามารถช่วยลดการระคายเคืองหลอดอาหารและลดอาการกรดไหลย้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
● อาหารไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารมัน หรือขนมหวานที่มีส่วนประกอบของไขมันมาก
● อาหารรสเผ็ด เช่น อาหารที่มีพริกหรือเครื่องเทศเข้มข้น
● เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม หรือเบียร์
● ช็อกโกแลต ซึ่งมีสารกระตุ้นการผลิตกรดในกระเพาะ
การทานอาหารมื้อใหญ่ในครั้งเดียวสามารถเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนขึ้นมาได้ง่าย จึงแนะนำให้แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก เช่น แทนที่จะทานวันละ 3 มื้อใหญ่ ให้เปลี่ยนเป็น 5-6 มื้อย่อย เลือกทานอาหารแต่พอดี หลีกเลี่ยงการทานมากเกินไปจนรู้สึกอิ่มแน่น เพื่อช่วยลดการสะสมแก๊สในกระเพาะและลดความเสี่ยงของอาการแน่นท้อง
การนอนทันทีหลังทานอาหารจะเพิ่มโอกาสที่กรดจะไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร จึงควรรออย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน รวมถึงหลีกเลี่ยงการงีบหลับทันทีหลังมื้ออาหาร โดยเฉพาะมื้อเย็น
การยกศีรษะให้สูงขึ้นสามารถลดอาการกรดไหลย้อนได้ โดยแนะนำให้ใช้หมอนสูง หรือเตียงที่ปรับระดับได้ เพื่อยกศีรษะและช่วงบนของร่างกายให้สูงขึ้นประมาณ 15-20 เซนติเมตร
การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป โดยเฉพาะบริเวณท้อง อาจเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารและกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อน จึงควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย หลีกเลี่ยงเข็มขัด หรือกางเกงที่รัดแน่นจนกดทับบริเวณท้อง
โรคกรดไหลย้อน เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภ าพชีวิตอย่างมาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตเป็นสิ่งสำคัญในการบรรเทาอาการ แต่หากอาการยังคงรุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การปรึกษาแพทย์และรับการรักษาที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น โดยประกันสุขภาพ OPD สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคกรดไหลย้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำ PRUe-Healthcare Plus จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ที่พร้อมให้การดูแล ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจ ค่ายา หรือค่าปรึกษาแพทย์ ก็จะช่วยให้คุณเข้าถึงการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพได้อย่างสบายใจ
ข้อมูลอ้างอิง
1. อาการกรดไหลย้อน เป็นอย่างไร และมีแนวทางการรักษาอย่างไร ?